น้ำยาสร้างภาพ ในการตรวจสอบด้วยของเหลวแทรกซึมมีทั้งหมดกี่ชนิด ?

น้ำยาสร้างภาพ ในการตรวจสอบด้วยของเหลวแทรกซึมมีทั้งหมดกี่ชนิด ?




น้ำยาสร้างภาพ ในการตรวจสอบด้วยของเหลวแทรกซึมมีทั้งหมดกี่ชนิด ?

การตรวจสอบด้วยของเหลวแทรกซึม (Liquid Penetrant Testing : PT) คือ ใช้เพื่อค้นหาความไม่ต่อเนื่องหรือจุดบกพร่องชนิดรูพรุน และรอยร้าว บริเวณผิวหน้าแนวเชื่อมและบริเวณผลกระทบร้อนจากการเชื่อม ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และเป็นการทดสอบแบบไม่ทำลายสภาพ ใช้หาจุดบกพร่องบนพื้นผิวชิ้นงานที่เป็นโลหะและอโลหะได้ทุกชนิด ยกเว้น! เนื้อวัสดุงานที่มีลักษณะ “ผิวหยาบ” “พรุน” “ดูดซึมของเหลวง่าย”

ชนิดของน้ำยาสร้างภาพที่ใช้ในการตรวจสอบมีอะไรบ้าง ?

โดยจะแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดผงแห้ง และ ชนิดผงเปียกผสมน้ำ

1. ชนิดผงแห้ง (Dry Powder Developer)
เป็นวัสดุที่มีปฏิกิริยาในการดูดซึมสูง ไม่เรืองแสง ไม่กัดกร่อนโลหะงาน และสามารถกำจัดออกได้ง่าย ลักษณะเป็นผง เบา ฟุ้งกระจายได้ง่าย ใช้เคลือบผิวหน้างานตรวจสอบโดยวิธีพ่นหรือจุ่มลงในถัง ควรทำงานในที่ที่มีการป้องกันกระแสลม Developer ชนิดนี้จะแสดงผลช้ากว่า Developer ชนิดอื่น ใช้งานง่ายถ้าผิวงานตรวจสอบแห้งดีแล้ว ก็สามารถพ่นเคลือบผิวงานได้ทันที Developer จะดึงน้ำยาแทรกซึมขึ้นมาจากรอยร้าวหรือของจุดบกพร่อง โดยใช้เวลาครึ่งหนึ่งของเวลาที่น้ำยาแทรกซึมไหลเข้าไปในช่องแคบเปิดของจุดบกพร่อง

2. ชนิดผงเปียกผสมน้ำ (Wet Developer)
หรือมีชื่อเรียกอีกว่า “Aqueous Developer” แยกออกเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด ได้แก่

2.1 ชนิดแยกตัวเป็นสารแขวนลอยน้ำ (Water Suspendable)

2.2 ชนิดละลายน้ำ (Water Soluble)

2.3 ชนิดผสมสารละลาย (Non – aqueous Solvent)

ที่มา : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการศึกษาพัฒนาวิธีการปฏิบัติเพื่อการตรวจสอบอุปกรณ์รับแรงดันสำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์