รถของคุณครบ 7 ปีแล้วหรือยัง ? ทำความรู้จัก “ตรอ.”

รถของคุณครบ 7 ปีแล้วหรือยัง ? ทำความรู้จัก “ตรอ.”

รถของคุณครบ 7 ปีแล้วหรือยัง ? ทำความรู้จัก ตรอ.

ทำความรู้จัก ตรอ.

            ตรอ. คือสถานสภาพรถเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นสถานที่เอาไว้ใช้ตรวจสภาพรถว่ามีความพร้อมในการใช้งานบนท้องถนนตามข้อกำหนดทางกรมการขนส่งฯ จัดทำขึ้นมาเพื่อลดภาระการตรวจสอบสภาพรถจากทางกรมการขนส่งโดยตรง


เมื่อไหร่ถึงต้องตรวจสภาพกับ ตรอ.” ?

            อ้างอิงจากพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งจะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะขนาด และเครื่องอุปกรณ์ส่วนครบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับรถและผู้โดยสารรถคนนั้น หรือผู้ขับขี่รถคันอื่นๆคนเดินถนน รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ เพราะเหตุนี้จึงต้องมีการตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดอายุการใช้งาน โดยรถที่ต้องตรวจสอบสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปีมีดังนี้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งาน 7 ปี ขึ้นไป
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

            ส่วนในการนับอายุนั้น ให้นับอายุทางทะเบียนโดยนับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก ถึงวันที่สิ้นสุดอายุภาษีประจำปี (วันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี) เช่น รถยนต์ส่วนบุคคลจดทะเบียนปี 2560 จะต้องมีการตรวจสภาพในปี 2567 หรือการต่อภาษีเพื่อให้ได้ป้ายหมดอายุปี 2568 นั่นเอง


ตรวจ ตรอ. ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

  • เอกสารสมุดจดทะเบียนรถสำเนาประจำรถ
  • รถจริง
  • กรณีรถยนต์ที่ใช้ LPG , NGV ต้องมีเอกสารแจ้งใช้ก๊าซ


ตรอ. ตรวจอะไรบ้าง  ?

  1. ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ เช่น แผ่นป้ายทะเบียน, ลักษณะรถ, แบบรถ, สีรถ ฯลฯ ถูกต้องตามที่รถบุไว้ในเอกสารสมุดประจำรถหรือไม่
  2. การตรวจพินิจภายในและภายนอก จะมีการตรวจสภาพตัวถัง, สี, อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย, ที่นั่ง, เข็มขัดนิรภัย, ระบบไฟส่องสว่าง, ไฟสัญญาณ, อุปกรณ์ไฟฟ้า, พวงมาลัย, ที่ปัดน้ำฝน,​ วงล้อและยางอยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติหรือไม่ และวงล้อต้องไม่ยื่นออกจากตัวรถ
  3. การตรวจพินิจใต้ท้อง จะตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว, ระบบรองรับน้ำหนัก, ระบบเบรก, เครื่องยนต์, ระบบส่งกำลัง, สภาพตัวถังโครงคัสซี, ระบบไอเสีย, ระบบเชื้อเพลิง, วงล้อและอย่างอยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติหรือไม่
  4. การทดสอบประสิทธิภาพการห้ามล้อ (เบรก) โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
  5. การตรวจสอบวัดโคมไฟหน้าจะตรวจสอบทิศทางเบี่ยงเบนของลำแสง และตรวจวัดค่าความเข้มของแสง
  6. การตรวจวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง และ รถจักรยานยนต์
  7. ตรวจสอบควันดำ
  8. การตรวจวัดเสียง ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล


ใบตรวจสภาพ ตรอ. มีอายุการใช้งานเท่าไหร่ ?

            หลังจากที่ทำการตรวจสภาพเรียบร้อยแล้ว และสภาพรถผ่านเกณฑ์ ทางตรอ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน จะทำการออกใบรับรองการตรวจสภาพมาให้ เพื่อเป็นการรับรองว่ารถยนต์คันนี้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน เจ้าของรถสามารถนำไปทำการต่อภาษีประจำปีหรือต่อทะเบียนได้ที่กรมการขนส่งทางบกฯ โดยมีอายุการใช้งาน 3 เดือน


            **การต่อทะเบียนรถยนต์หรือต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถต่อล่วงหน้าได้ 3 เดือนก่อนวันสิ้นอายุ (ตามที่ระบุเอาไว้ในป้ายวงกลมหรือป้ายภาษี ถ้าเลยวันกำหนดจะต้องถูกปรับตามที่ขนส่งกำหนด )**

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์