การทดสอบ ถังเก็บ - จ่าย - ขนส่ง "ก๊าซปิโตรเลียมเหลว"

การทดสอบ ถังเก็บ - จ่าย - ขนส่ง "ก๊าซปิโตรเลียมเหลว"




การทดสอบ ถังเก็บ - จ่าย - ขนส่ง "ก๊าซปิโตรเลียมเหลว"

หลักเกณฑ์ที่ 1 : หลักเกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ผลิต หรือสร้างขึ้นใหม่
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การบำรุงรักษาและการทดสอบและตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติมจากหมวด 1 และหมวด 2)

1. ตรวจสอบเอกสารแสดงการออกแบบ ผลิตหรือสร้างถัง พร้อมด้วยวิธีการคำนวณถัง
2. ตรวจสอบวัสดุที่ใช้สร้างถังและกรรมวิธีการเชื่อม
3. ตรวจสอบขนาดของถัง
4. ตรวจสอบความหนาของถัง
5. ตรวจสอบสภาพภายนอกของถังด้วยวิธีพินิจด้วยสายตา (visual examination)
6. ตรวจสอบสภาพภายในของถังด้วยวิธีพินิจด้วยสายตา (visual examination)
7. ทดสอบและตรวจสอบสภาพแนวเชื่อมภายในและภายนอกทั้งหมดด้วยวิธีอนุภาคผงแม่เหล็ก (magnetic particle examination) หรือวิธีสารแทรกซึม (liquid penetrant examination)
8. ทดสอบและตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี (radiographic exmination)
หากในกรณีที่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถทำการทดสอบด้วยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสีได้ ให้ทำการทดสอบด้วยวิธีคลื่นความถี่สูง (ultrasonic examination) โดยเทคนิค phased array ultrasonic examination หรือวิธี time of flight diffraction ซึ่งทั้งสองวิธีต้องใช้เครื่องมือที่สามารถบันทึกผลการทดสอบอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติแบบคอมพิวเตอร์และสามารถวิเคราะห์ผลการทดสอบได้ (computer based data acquisition and data analysis ability)
แต่ทั้งนี้ นอกเหนือจากวิธีตามวรรคสอง ให้ใช้วิธีอื่นที่มาตรฐาน ASME กำหนดให้ใช้ทดแทนได้ หากจะนำมาใช้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ในแต่ละกรณีก่อนดำเนินการ
9. ทดสอบและตรวจสอบด้วยแรงดันไฮดรอลิก (hydrostatic test) ตามมาตรฐานการออกแบบ
10. จัดทำรายงานผลการทดสอบและตรวจสอบ

หมายเหตุ
ก. ในการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์นี้ข้อ 1 และข้อ 2 ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานออกระเบียงปฏิบัติตามความเหมาะสม
ข. ในกรณีที่ทำการตรวจสอบและตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว ชนิดทรงกลม (spherical tank) ให้ทำการวัดค่าการทรุดตัวของขาถังทั้งก่อนและหลังการทดสอบด้วยแรงดันไฮดรอลิก รวมทั้งระหว่างที่ทำการทดสอบเมื่อบรรจุน้ำได้ร้อยละห้าสิบ ร้อยละเจ็ดสิบห้า และร้อยละร้อย
ค. ถังเก็บและจ่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิซึ่งออกแบบ ผลิตหรือสร้างตามมาตรฐาน API 620 ให้ทำการทดสอบและตรวจสอบเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์นี้ข้อ 1 ถึงข้อ 9 ดังต่อไปนี้
- ค.1 ทดสอบและตรวจสอบความต้านทานของวัสดุและรอยเชื่อม รวมทั้งบริเวณ heat affected zone ด้วยวิธีรับแรงกระแทก (impact test) ตามมาตรฐานออกแบบ
- ค.2 ทดสอบและตรวจสอบแนวเชื่อมระหว่างพื้นถัง พร้อมแนวเชื่อมระหว่างพื้นถังและผนังถังด้วยวิธี vacuum box test
- ค.3 ทดสอบและตรวจสอบถังชั้นนอก ด้วยวิธี pneumatic test พร้อมตรวจความแข็งแรงของ anchor bolt ด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ราชกิจจานุเบกษา

—--------------------------------
ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
งานตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.) : 063 - 932 - 3379
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์