สัญลักษณ์ประเภทวัตถุและสารอันตราย !

สัญลักษณ์ประเภทวัตถุและสารอันตราย !




สัญลักษณ์ประเภทวัตถุและสารอันตราย !

ประเภทที่ 1 #วัตถุระเบิด (Explosive) เป็นสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดขึ้น

ประเภท 1.1
วัตถุที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ทั้งหมด (Mass Explosive)

ประเภท 1.2
วัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดระเบิด แต่มิใช่โดยการระเบิดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ทั้งหมด

ประเภท 1.3
วัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดเล็กน้อยเมื่อเกิดอัคคี ภัยหรือสัมผัสถูกแหล่งความร้อนอื่น ๆ

ประเภท 1.4
วัตถุที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักแต่อาจเกิดการปะทุใน ระหว่างการขนส่งได้ ความเสียหายจะอยู่เฉพาะภายใน บรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อเท่านั้น

ประเภท 1.5
วัตถุซึ่งไม่ไวต่อการระเบิด แต่เมื่อเกิดการลุกไหม้อาจทำให้เกิด การระเบิดได้ ทําให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง เช่นเดียวกับ ประเภท 1.1 เช่น ดินปืน กระสุนปืน ไดนาไมท์ แอมโมเนีย ได โครเมท

ประเภท 1.6
วัตถุซึ่งไม่ไวหรือเนื้อยมากต่อการระเบิดและไม่ก่อให้เกิด อันตรายรุนแรง

ประเภทที่ 2 #ก๊าซ (GAS)

ประเภท 2.1
ก๊าซไวไฟ เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่าย เมื่อสัมผัสถูกความร้อน เปลว ไฟ มีจุดวาบไฟต่ำ กว่า 37.8 c. เช่น อะเซธิลีน อีเทน ไซโคลบิวเทน เอทธิลอามีน มีเทน บิวเทน เป็นต้น

ประเภท 2.2
ก๊าซไม่ไวไฟ ไม่เป็นพิษ อัดภายใต้ความดันอาจเกิดอันตราย จากการระเบิดเมื่อถูกกระทบกระแทกหรือความร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ออกซิเจน คลอโรเพนตะฟลูออโร อีเทน ไดคลอโรฟลูออโรมีเทน

ประเภท 2.3
ก๊ซพิษ เป็นสารกัดกร่อนหรือเป็นพิษต่อมนุษย์ที่มีค่า LC50 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 มิลลิลิตรต่อลบ.เมตร (ppm) เช่น คลอรีน แอมโมเนีย โบรอนไตรฟลูออไรด์ คาร์บอนฟลูออไรด์ และเมทธิลโบรไมด์

ประเภทที่ 3 #ของเหลวไวไฟ
ของเหลวไวไฟ มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 37.8 0ซ. เช่น เฮกเซน คลอโรบิวเทน ไซโคลเฮกเซน เบนซีน เอทธิล แอลกอฮอล์ ไซลีน บิวธิลอะซิเตต คลอโรเบนซีน

ประเภทที่ 4 #ของแข็งไวไฟ หรือวัตถุที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ

ประเภท 4.1
ของแข็งไวไฟง่ายต่อการติดไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ การบูร กำมะถัน ฟอสฟอรัส เฮกซะเมททิลลีนเตตรามีน

ประเภท 4.2
วัตถุที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ได้เอง เช่น อะลูมิเนียม อัลคิลเฮไลด์ คาร์บอน ไดเมทธิลซิงค์ ฟอสฟอรัสขาว ไนโตรเซลูไลส โซเดียมซัล ไฟด์ โปแตสเซียมไฮโดรซัลไฟท์

ประเภท 4.3
วัสดุอันตรายเมื่อเปียกชื้นอาจเกิดก๊าซ ไวไฟขึ้นได้ เช่น อัลคิลเมททอล เอไมด์ ผงอะลูมิเนียม อะลูมิเนียม คาร์ไบด์ แบเรียม แคลเซียม แคลเซียมซิลิไฟด์

ประเภทที่ 5 #วัตถุออกซิไดซ์ และออกแกนิคเปอร์ออกไซด์

ประเภท 5.1
วัตถุออกซิไดซ์ เช่น อะลูมิเนียมในเตรท แอมโมเนียในเตรท แบ เรียมคลอเรต โบรมีนเพนตะฟลูออไรด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ประเภท 5.2
ออแกนิคเปอร์ออกไซด์ เช่น อะเซทิล อะซิโตนเปอร์ออกไซด์ อะซิทิลเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ อะเซทิลไซ โคลเฮกเซนซัลโฟนิลเปอร์ออกไซด์

ประเภทที่ 6 #วัตถุมีพิษ และวัตถุติดเชื้อ

ประเภท 6.1
วัตถุพิษ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เจ็บป่วยอย่างรุนแรงเมื่อ สัมผัสถูก เช่น อาร์เซนิกไตรออกไซด์ ไซยาไนด์ คลอโรไนโตร เบนซีน ไดโบรโมมีเทน ไดคลอโรมีเทน

ประเภท 6.2
วัตถุติดเชื้อ วัตถุที่มีเชื้อจุลินทรีย์หรือพิษของจุลินทรีย์ (Toxin) อัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในมนุษย์ และสัตว์

ประเภทที่ 7 #วัตถุกัมมันตรังสี
เช่น โคบอลต์ 60 พลูโตเนียม 238 ยูเรเนียม-233 เรเดียม ยูเรเนียม

ประเภทที่ 8 #วัตถุกัดกร่อน
มีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อและวัสดุ เช่น คลอซัลฟูริก กรดฟอสฟอริก กรดไนตริก โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์โซเดียมไฮ ดรอกไซด์

ประเภทที่ 9 #วัตถุอันตรายอื่นๆ
เช่น แอสเบสตอส ซิงค์ไฮโดรซัลไฟท์ พีซีบี กากของเสียอันตรายอื่น ๆ

#อันตรายจากสารเคมี

1. การเจือปนอยู่ในอากาศ
2. การปนเปื้อนจากแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค
3. จากการสัมผัสโดยเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่าง ๆ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการเฉียบพลันหรืออาการเรื้อรังในระยะยาวได้

#การขนส่งสารเคมีอันตราย

1. การขนส่งวัตถุอันตรายตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปให้ดำเนินตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด

2. การขนถ่ายวัตถุอันตราย (Loading and Unloading)

2.1 แนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประกายไฟ

2.2 ผูกยึดภาชนะบรรจุเพื่อป้องกันการกระทบของเหลวไวไฟ ของแข็งไวไฟ

2.3 ต้องดึงเบรกมือเพื่อก้องกันการไหลของรถ

2.4 มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ควบคุมตลอดเวลา

2.5 การขนถ่ายวัตถุอันตรายชนิดไวไฟที่เป็นก๊าซหรือของเหลวต้องต่อสายดินเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้และระเบิดได้

ที่มา : tcijthai.

ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
งานตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.) : 063 - 932 - 3379
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์