รอยต่อใน WPS ควรออกแบบรอยต่ออย่างไร?

รอยต่อใน WPS ควรออกแบบรอยต่ออย่างไร?




รอยต่อใน WPS ควรออกแบบรอยต่ออย่างไร?

ตัวแปรของ WPS สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความสำคัญของกระบวนการเชื่อมแล้ว ยังสามารถที่จะจัดออกเป็นกลุ่มๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวแปรต่างๆด้วย สามารถแบ่งออกได้ถึง 10 กลุ่ม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ รอยต่อ (Joint)

รอยต่อ (Joint) คือ การนำลักษณะของชิ้นงาน 2 ชิ้นมาต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งลักษณะของชิ้นงานมีอยู่หลายลักษณะ เช่น รอยต่อชน รอยต่อมุม รอยต่อรูปตัวที เป็นต้น การต่องานแต่ละชนิดอาจมีลักษณะทั้งแบบบากและเป็นร่อง เพื่อให้เกิดการหลอมละลายเข้าด้วยกันมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความแข็งแรงให้กับแนวเชื่อม การบากเป็นร่องยังสามารถแบ่งเป็นหลายลักษณะ เช่น รูปตัวยู (U) รูปตัว (J) และรูปตัว (V) รวมไปถึงมุมรวมของรอยต่อ (Bevel Angle) ระยะห่างของชิ้นงานเป็นต้น รอยต่อควรแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการเชื่อมแบบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน ในการเชื่อมแบบด้านเดียวต้องระบุเพิ่มเติมหากมีแผ่นรองหลังงานเชื่อม (Backing Strip) เพราะการใส่แผ่นรองหลังหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นตัวแปรในการเชื่อมเช่นเดียวกัน และควรระบุชนิดของแผ่นรองหลังด้วยว่าเป็นโลหะ อโลหะหรือใช้แก๊ส

การออกแบบรอยต่อในงานเชื่อมที่จะกำหนดใน WPS ควรที่จะเขียนรูปและขนาดต่างๆลงในแบบให้ชัดเจนที่สุด เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบ

ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
งานตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.) : 063 - 932 - 3379
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์