การตรวจสอบสภาพรางรถไฟ แบบไม่ทำลายใช้วิธีการตรวจสอบแบบไหน ?

การตรวจสอบสภาพรางรถไฟ แบบไม่ทำลายใช้วิธีการตรวจสอบแบบไหน ?



การตรวจสอบสภาพรางรถไฟ
แบบไม่ทำลายใช้วิธีการตรวจสอบแบบไหน ?

รางรถไฟมีหน้าที่อะไรบ้าง ?

- เพื่อรองรับน้ำหนักตัวรถและน้ำหนักบรรทุกได้
- ทำให้รถไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ราบเรียบ
- เป็นตัวบังคับและนำการเคลื่อนที่ของล้อรถไฟ
- ถ่ายทอดภาระจากล้อรถไฟฟ้าไปยังหมอนรองรางรถไฟ

เหล็กรางรถไฟฟ้าที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
1. มีสภาพเชื่อมที่ดี
2. รักษารูปหน้าตัดได้ดี
3. มีคุณภาพพื้นผิวดี
4. มีค่าความเค้นตกค้างต่ำ
5. มีค่าต้านทานความล้าสูง
6. มีค่าต้านทานแรงกดสูง
7. มีค่าต้านทานการสึกหรอสูง

ทำไมต้องเชื่อมเหล็กรางรถไฟ ?
เพราะการเชื่อมโลหะ (welding) เป็นการต่อโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกันโดยการให้ความร้อนแก่โลหะจนหลอมละลายติดเป็นเนื้อเดียวกัน
การเชื่อมรางรถไฟมีทั้งหมดกี่วิธี ?
1. การเชื่อมเทอร์มิท (Thermit Welding)
2. การเชื่อมต่อชน (Flash Welding)
3. การเชื่อมด้วยอาร์กไฟฟ้า (Manuel Metal Arc Welding)
4. การเชื่อมอัด (Press Welding, Resistance Welding)

การตรวจสภาพ (ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย)
1. การทดสอบโดยคลื่นความถี่เสียง (Ultrasonic Testing)
สามารถใช้ตรวจวัดได้กับเครื่องมือหลายประเภท ตั้งแต่แบบควบคุมด้วยมือ จนถึงยานพาหนะความเร็วสูงที่ติดตั้งหัวตรวจสอบ โดยใช้หลักการการส่งคลื่นพลังงานอัลตราโซนิคเข้าสู่รางรถไฟเป็นหลัก และค้นหาการย้อนกลับของคลื่นพลังงานอัลตราโซนิคที่กระจายและสะท้อนกลับโดยใช้หัวตรวจสอบจับ ซึ่งสามารถบอกความแข็งแรงเกี่ยวกับของรางรถไฟได้

2. การทดสอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก (Magnetic Particle Testing)
ใช้สำหรับการประเมินแบบไม่ทำลายส่วนประกอบโครงสร้างเหล็กที่เป็นแม่เหล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเคมีรางรถไฟ พลังงาน และโลหะ หลักการที่ใช้ในการตรวจสอบคือใช้การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก โดยหัวตรวจจับการรั่วไหลฟลักซ์แม่เหล็กถูกต่อเข้ากับแม่เหล็กถาวรหรือแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อทำให้เกิดสนามแม่เหล็กกำลังสูง

การตรวจสอบรางรถไฟโดยการใช้การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก นิยมใช้ในการตรวจสอบข้อบกพร่องใกล้ผิว หรือในแนวขวางใกล้ผิว เช่น รอยแตกจากความล้า

3. การทดสอบโดยวิธีกระแสไหลวน (Eddy current Testing)
วิธีนี้จะให้กระแสไฟฟ้าแบบสลับป้อนเข้าสู่ขดลวดกระตุ้น ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กใกล้กับผิวของหัวรางรถไฟ การเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กจะทำให้กระแสไหลวนถูกชักนำสู่ภายใต้ผิวของหัวรางรถไฟ การตรวจสอบด้วยด้วยกระแสไหลวนนิยมใช้กับการตรวจสอบความล้า การไหม้ของล้อรถไฟ รอยจากการเจียระไน และรอยย่นที่เป็นคลื่น

4. การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing)
อาศัยหลักการใช้กล้องถ่ายภาพความเร็วสูง สามารถจับภาพวิดีโอทางรถไฟเมื่อรถไฟเคลื่อนที่ผ่าน ภาพถ่ายที่จับได้จะถูกวิเคราะห์โดยซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ การตรวจสอบรางรถไฟโดยการใช้กล้องถ่ายภาพสามารถใช้วัดรูปร่างภายนอกหัวรางรถไฟ ร้อยละการสึกหรอระยะห่างรางรถไฟ การเคลื่อนที่ของหมอนรถไฟ การหายของเศษหินและกรวดที่โรยทางรถไฟ การหายของน๊อต และความเสียหายที่ผิวซึ่งรวมถึงความล้าและการเป็นคลื่น

5. การทดสอบโดยวิธีภาพถ่ายรังสี (Radiography Testing)
การตรวจสอบแบบถ่ายภาพรังสีสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่ง ขนาด และลักษณะของข้อบกพร่องภายใน และการหักเหของรังสีสามารถใช้ตรวจสอบความเค้นหลงเหลือใกล้กับผิวของหัวรางรถไฟได้ นอกจากนั้นการถ่ายภาพรังสีสามารถใช้เป็นเครื่องมือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อบกพร่องที่ได้ตรวจสอบแล้วโดยวิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลายนั่นเอง

ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์