การดูแลรักษาและการตรวจสอบ #ระบบท่อก๊าซ มีอะไรบ้าง ?

การดูแลรักษาและการตรวจสอบ #ระบบท่อก๊าซ มีอะไรบ้าง ?




การดูแลรักษาและการตรวจสอบ ระบบท่อก๊าซ มีอะไรบ้าง ?

1. ตรวจสอบการรั่วซึมของก๊าซ (Leak Test)
คือ การทดสอบการรั่วซึมของก๊าซธรรมชาติออกมาจากท่อส่งก๊าซภายในโรงงาน วิธีที่นิยมได้แก่ ‘Liquid Leak’ และ ‘Gas Detector’
ทดสอบบริเวณแปลน, วาล์ว, จุดที่เป็นสนิม

แก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
1. เปลี่ยน stud, Nut & Bolt เมื่อมีการผุกร่อนหรือชำรุด
2. ขันหน้าแปลน ข้อต่อ เกลียวในแน่นๆ
3. หากไม่สามารถหยุดการรั่วไหลได้ต้องเปลี่ยนวัสดุกันรั่ว เช่น ปะเก็น เทปพันเกลียว
4. หากเกิดการรั่วซึมจากการทรุดตัว สนิมลึก หรือการเจาะกระแทกอย่างแรง *ต้องเปลี่ยนท่อใหม่

2. การตรวจสอบแนวท่อ (การยึด / หด / บิดตัว / ทรุดตัว)

หากเกิดการยืด / หด / บิดตัว / ทรุดตัว เกินกว่าที่คุณสมบัติของท่อจะรับได้ ก็ทำให้เกิดการแตกของท่อ และเป็นอันตรายได้ สามารถตรวจสอบได้ด้วยตา หรือใช้เครื่องมือวัดระดับและอ่านค่าเปรียบเทียบกับตารางความแอ่นที่รับได้ของท่อ / อุปกรณ์

ทดสอบบริเวณแนวท่อก๊าซที่มีการยึดท่อกับ Support ที่ไม่ใช่รากฐานเดียวกัน หรือจุดที่มีการฝังท่อลงใต้ดิน และจุดที่มีการใช้ Flexible Hose

แก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
1. หากเกิดการทรุดตัวที่ Flexible house ถ้าระยะการทรุดตัวเกินจากตารางคำแนะนำของผู้ผลิต ดำเนินการปรับ alignment ของแนวท่อและเปลี่ยน Flexible hose ใหม่
2. เกิดการทรุดตัวบนแนวท่อ ให้ปรับ alignment ใหม่และปรับ Support ของแนวท่อใหม่
3. ระบบการป้องกันการผุกร่อนของท่อใต้ดินหรือระบบ Cathodic Protection

คือ ระบบป้องกันการผุกร่อนของท่อใต้ดินโดยการใช้ความต่างศักดิ์ของประจุไฟฟ้าและแท่ง Sacrificial Rod เพื่อบังคับให้เกิดกี่ผุกร่อนแทนท่อก๊าซ ซึ่งระบบนี้เป็นระบบป้องกันที่ใช้กับท่อที่ฝังใต้ดินเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้กับท่อที่ไม่ได้ฝังใต้ดินได้ โดยการตรวจสอบจะทำการวัดค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้าที่ CP Test Post

ทดสอบบริเวณ CP Test Post ของระบบท่อก๊าซที่มีการฝังลงใต้ดิน

หากผลการทดสอบต่ำกว่ามาตรฐาน ควรตรวจสอบและเปลี่ยนถุง Anode ที่ติดอยู่กับระบบท่อใต้ดิน

4. ระบบสายดิน (Grounding)

เป็นระบบที่ใช้ป้องกันไฟฟ้ารั่วเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานีซื้อขายก๊าซ และยังป้องกันการเกิดประกายไฟเนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร / ไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเกิดไฟไหม้ในกรณีที่มีก๊าซรั่ว สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาโดยสังเกตว่าสายไฟที่เชื่อมไปยังระบบสายดินมีการชำรุดหรือไม่

ทดสอบบริเวณ ระบบสายดิน / บริเวณที่มีการต่อสายไฟไปยังแท่งทองแดงที่เสียบอยู่ใต้ดิน

หากพบระบบ Grounding ชำรุดให้รีบแก้ไขทันที

5. การตรวจสอบสีท่อ / การผุกร่อน / การกัดกร่อน

ตรวจสอบเพื่อป้องกันไม่ให้ท่อเกิดการแตกเนื่องมาจากไม่สามารถทนแรงดันของก๊าซภายในได้ สีท่อมีหน้าที่คอยป้องกันไม่ให้ผิวท่อภายนอกสัมผัสกับอากาศและความชื้นจนกลายเป็นสนิม

ทดสอบบริเวณแนวท่อก๊าซธรรมชาติ

หากพบการชำรุดของสีท่อ / สนิม

1. ทำความสะอาดโดยการขัดออกด้วยกระดาษทราย *ห้ามใช้เครื่องขัด
2. หากสนิทกัดกร่อนผิวท่อลึกและอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วไหลของก๊าซ ให้ทำการตัดต่อท่อใหม่

6. ระบบป้องกันฟ้าผ่า

ท่อ Carbon Steel เป็นวัสดุที่นำไฟฟ้าได้ดี และอาจมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ระบบท่อภายในโรงงานควรมีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าหรือสายล่อฟ้าไว้เพื่อป้องกัน สามารถตรวจสอบได้ด้วยสายตาและวัดค่าความต้านทานของระบบสายดินว่าได้มาตรฐานหรือไม่

ทดสอบบริเวณระบบป้องกันฟ้าผ่า / สายล่อฟ้า

หากพบการชำรุดควรรีบซ่อมแซมให้อยู่ในมาตรฐานทันที

7. ตรวจสอบอุปกรณ์วัดความดัน (Pressure Gauge)

เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยบอกสภาวะความดันของก๊าซภายในท่อได้ แต่ตัวอุปกรณ์ควรได้รับการตรวจเช็กและสอบเทียบเป็นระยะ เพื่อให้ค่าที่อ่านได้เป็นค่าที่ถูกต้อง

ทดสอบบริเวณอุปกรณ์วัดความดัน

ที่มา : https://dscng.pttplc.com
https://guru.sanook.com/8261/
.
ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์