ลักษณะการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing : VT) ตามมาตรฐาน ASME

ลักษณะการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing : VT) ตามมาตรฐาน ASME



ลักษณะการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจ (Visual Testing : VT)ตามมาตรฐานASME


ทำความรู้จัก ‘ลักษณะการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจ’

ลักษณะการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจตามมาตรฐาน ASME (the American Society of Mechanical Engineers) สามารถแบ่ง ได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1. การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง (Direct visual examination)
ผู้ทดสอบต้องมีสายตาที่ดี จะต้องผ่านการทดสอบตาตาม มาตรฐาน ในการทดสอบจะต้องมีระยะห่างจากผิวชิ้นงานไม่เกิน 24 นิ้ว สายตาทำมุมไม่ต่ำกว่า 30 องศา กับระนาบของผิวชิ้นงาน ต้องคำนึงถึง แสงสว่างที่ใช้งาน (ซึ่งไม่ต่ำกว่า 100 ฟุต-แคนเดิ้ล หรือประมาณ 1,000 ลักซ์ ในกรณีหารอยความต่อเนื่องที่มีขนาดเล็ก)

2. การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยอ้อม (Remote visual examination)
ในบางกรณีต้องทดสอบในบริเวณที่ไม่สามารถมองด้วย สายตาโดยตรงได้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทดสอบระยะไกล เช่น กระจกเงา (Mirror) กล้องเทเลสโคป (Telescope) กล้อง บอร์สโคป (Borescope) และกล้องถ่ายรูป หรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ มีความเหมาะสมและมีความสามารถในการแยกแยะ ไม่น้อยกว่า การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง

3. การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยใช้แสงสว่างช่วย (Translucent visual examination)
เป็นการช่วยเสริมการทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจโดยตรง โดยใช้แสงสว่างที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะ (Article tight) เช่น การใช้แสงสว่างจากหลอดไฟ ซึ่งจำกัดการส่องสว่างเฉพาะที่โดยมี การกระจายความเข้มของการส่องสว่างสม่ำเสมอตลอดพื้นที่การ ทดสอบ และต้องจำกัดแสงสว่างโดยรอบ (Ambient light) ให้มีความเข้มในการส่องสว่างน้อยกว่าแสงสว่างที่สร้างขึ้นมาใช้งาน (Artificial light) และควบคุมไม่ให้แสงสะท้อนจากผิวชิ้นงานที่ ทดสอบ สะท้อนเข้าสู่สายตา และแสงสว่างที่สร้างขึ้นมาใช้งาน เฉพาะ ต้องมีความเข้มส่องสว่างตามข้อกำหนดของมาตรฐานนั้นๆ

การทดสอบโดยวิธีการตรวจพินิจในงานเชื่อมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. การตรวจสอบก่อนการเชื่อม
2. การตรวจสอบหลังการประกอบรอยต่อ
3. การตรวจสอบขณะเชื่อม
4. การทดสอบหลังการเชื่อม

ติดต่อโทร. 02 - 455 - 2888
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์